ดิ เอราวัณ กรุ๊ป
ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ชื่อนี้อาจจะไม่คุ้นหูสำหรับใครหลายๆ คน แต่หากเอ๋ยถึงโรงแรม Hop Inn แล้วนั้นเชื่อได้เลยว่าน่าจะพอคุ้นหูกันมากขึ้น
ดิ เอราวัณ กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 จากการเป็นเจ้าของ อัมรินทร์ พลาซ่า และได้ เริ่มมาจับธุรกิจโรงแรมในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งโรงแรมแห่งแรกของ ERW คือ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ นับตั้งแต่วันนั้น ERW ได้เป็นผู้บริหารโรงแรมอีกหลายที่ทั้งในรูปแบบ chain และ operate เอง

Q4 2018: บริษัทมีโรงแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 61 โรงแรม จำนวนรวม 8,485 ห้อง เป็นผู้บริหารโรงแรมรวมทั้งสิ้น 10 brand
จากรายได้ย้อนของ ERW และ net profit margin ของ ERW ย้อนหลัง
2016: รายได้ 5,652 ล้านบาท: Profit margin 6.5%
2017: รายได้ 6,037 ล้านบาท: Profit margin 8.4%
2018: รายได้ 6,308 ล้านบาท: Profit margin 8.5%
ปัจจุบัน ERW มีจำนวนโรงแรมแบ่งตามดาว segment แล้วนั้นจะมีแยกได้ตามนี้
Luxury: 4 โรงแรม
Midscale: 5 โรงแรม
Economy: 11 โรงแรม
Budget: 41 โรงแรม โดยเป็นในประเทศ 36 โรงแรม และ ต่างประเทศ 5 โรงแรม
ซึ่งในด้านของ brand HOP INN แล้วนั้นปัจจุบัน บริษัทเป็นให้บริการไปแล้วทั้งสิ้น 41 แห่ง โดยเป็นเป็นในประเทศ 36แห่ง และ ที่ Philippine 5 โรงแรม
ที่น่าสนใจคือภายในปี 2020 บริษัทมีการตั้งเป้าว่าจะเปิดบริการให้ครบทั้งสิ้น 10,000 แห่งซึ่งจากแผนการแล้วนั้น ตอนนี้มี property ที่รอการก่อสร้างแล้วทั้งสิ้น 1,781 ห้อง ซึ่งจะทำให้ ห้องทั้งหมดของ กลุ่ม ERW มีทั้งหมด 10,266 ห้อง ซึ่งก็ถือว่าเป็นไปตามแผนงานที่ว่างไว้
ซึ่งจากตัวเลขจำนวน 1,781 ห้องนั้น จะมีการเปิดตัวภายในปี 2019 ทั้งสิ้น 1,074 ห้อง ซึ่งแบ่งได้ตามนี้
HOP INN: 573 ห้อง
Ibis: 300 ห้อง
Mercure: 201 ห้อง
ซึ่งทำให้ ณ สิ้นปี 2019 ERW จะมีห้องทั้งหมด 9,559 ห้อง

ซึ่งก็น่าติดตามต่อกับ ERW ว่าจะเติบโตแบบ organic ต่อไปได้อีกแค่ไหน เนื่องจากโรงแรมทุกโรงแรมของ ERW เป็นการลงทุนด้วยต้นเองทั้งหมด ซึ่งการเติบโตแบบนี้ทำให้ธุรกิจต้องใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้นเดียวใน pain point หลักของธุรกิจคือต้นทุนทางการเงิน

หากมองที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและตัว ERW แล้วนั้นปัจจัยต่อไปนี้คือปัจจัยที่ต้องระวัง
- ภาวะการเติบโตของ GDP
- ต้นทุนดอกเบี้ย
- ความมั่นคงของการเมืองในประเทศนั้น ๆ
- เรื่องของภัยธรรมชาติ และ โรคระบาด
แถม 3 อันดับ Hotel Chain ที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้แก่*
อันดับ 1: Marriot 1,444,096 ห้อง
อันดับ 2: Hiltion Worldwide Holding 997,992 ห้อง
อันดับ 3: Intercontinental Hotels Group 944,585 ห้อง
*รวมได้ pipe line
อ้างอิง