ตู้บุญเติม ใครเป็นเจ้าของ
ตู้บุญเติม ตู้สีส้มเขียวที่ถูกตังอยู่แถบทุกหัวมุม ถนน 7-11 หรือแม้แต่ร้านขายของชำเล็ก ๆ เพื่อให้บริการเติมเงินโทรศัพท์ หรือ แม้แต่ชำระค่าบริการต่าง ๆ เคยสงสัยไหมว่าเขาทำกำไรหรือป่าว และ ใครเป็นเจ้าของ
ตู้บุญเติมในปัจจุบันเป็นของบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุุบันแล้วนั้นบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส เป็นเจ้าของตู้บุญเติมทั้งหมด 13,053 ตู้ทั่วประเทศ

ซึ้งจากงาน Oppday Q 4 / 2018 บริษัทมีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
ยอดการเติมเงินผ่านบุญเจิมสำหรับปี 2018 มีมากถึง 41,980 ล้านบาท
มีการใช้งานตู้บุญเติมมากกว่าวันละ 2,000,000 ครั้ง
มีลูกค้าที่ใช้งานประจำมากถึง 23 ล้านคน
โดยเฉลี่ยต่อหนึ่งการใช้งานยอดเฉลี่ย 56 บาท
ซึ่งนอกจากการขยายของตู้บุญเติมโดยใช้ระบบการลงทุนเองแล้วนั้น บริษัทยังมีการใช้ model business การขยายตู้ผ่านระบบ agent หรือตัวแทน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 181 ผู้แทน
ซึ่งหากมองการกระจายตัวของตู้แล้วนั้นก็น่าสนใจไม่น้อย
กรุงเทพ: 18,474 ตู้
ภาคเหนือ: 23,237 ตู้
ภาคกลาง: 19,425 ตู้
ภาคใต้: 16,237 ตู้
ภาคตะวันออก: 14,269 ตู้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: 38,412 ตู้

ซึ่งก็น่าสนใจว่าตัวเลขผู้มีเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยมีมากถึง 91 ล้านเลขหมาย แต่มีผู้ใช้รายเดือนเพียง 76%
ซึ่งหากมองที่ Over มองที่ มูลค่าตลาด Top – up ของมือถือในประเทศแล้วนั้นปัจจุบัน ตู้บุญเติม มี Market Share 22% มูลค่ารวม 31,210 ล้านบาท
นอกเนื่องจากธุรกิจของตู้บุญเติมไม่ได้มีแค่การรับเติมเงินโทรศัพท์ บริษัทยังให้บริการโอนเงินจากตู้เข้าสู่ธนาคารอีกด้วย หากดูตัวเลขล่าสุดของ ยอดการโอนเงินผ่านตู้บุญเติมมีสูงถึง 600 ล้านบาทต่อวัน ด้วย Active user (ในรอบ 3 เดือน) มากกว่า 495,000 คน
ในด้านรายได้ของบริษัท 3 ปีย้อนหลัง
- 2016: รายได้ 23,383 ล้านบาท รายได้ต่อตู้ 249,777 บาท
- 2017: รายได้ 36,174 ล้านบาท รายได้ต่อตู้ 290,197 บาท
- 2018: รายได้ 41,980 ล้านบาท รายได้ต่อตู้ 322,791 บาท
ซึ่งหากดู net profit ของบริษัทย้อนหลัง 3 ปี มีตัวเลขที่หน้าสนใจดังนี้
- 2016: กำไร 420 ล้านบาท กำไรต่อตู้ 4,561 บาท
- 2017: กำไร 543 ล้านบาท กำไรต่อตู้ 4,356 บาท
- 2018: กำไร 583 ล้านบาท กำไรต่อตู้ 4,482 บาท

ซึ่งจากตัวเลขแล้วนั้น ถึงแม้ว่า รายได้ต่อตู้จะเหมือนลดลง แต่ในด้านของรายได้ต่อตู้มีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ที่น่าสนใจคือบริษัทจับมือเป็นพันธมิตรชั้นนำ กำลังรวมกับ Dtac ในการสร้าง Platform และ สถานี charge รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งบริษัทตั้งเป้าไว้ว่าจะมีประมาณ 300 – 500 ตู้
นอกเนื่องจากนี้บริษัทยังมีธุรกิจที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็น
- การเป็นตัวแทนจำหน่าย Sim Card
- การเป็นตัวแทนจำหน่ายประกันภัย
- และการทำ Personal Loan
ซึ่งจากข้อมูล และ Big Data ที่ทางบริษัทมีก็น่าสนใจไม่น้อยว่า บริษัทจะมีบริการ Personal loan มาในรูปแบบไหน

อ้างอิง Oppday Q4 2018