Wed. May 21st, 2025

รถ Bus ไฟฟ้า ตอนนี้ feasible ในการลงทุนหรือยัง

รถ bus ไฟฟ้าถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่หลาย ๆ คนพูดถึงทั้งในระดับประชาชนจนถึง นักการเมืองระดับประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ PM2.5 ถูกนำมาพูดถึงในสังคม

PM2.5 นั้นถูกระบุว่าเกิดจาหลาย ๆ สาเหตุไม่ว่าจะเป็นการเผ่าป่า, โรงงานอุตสาหกรรม และ หนึ่งในสาเหตุที่ถูกนำมาพูดถึงมากที่สุดคือสาเหตุที่เกิดจากปริมาณ รถยนต์บนท้องถนน และ ระบบขนส่งมวลชนโดยเฉาพะรถยนต์สาธารณะที่ไม่มี ประสิทธิภาพ

หนึ่งใน  Solution ที่ถูกพูดถึงคือการเปลี่ยนรถ bus ของ ขสมก  มาเป็นรถ Bus ไฟฟ้าเพื่อรถการปล่อยก๊าซ ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบให้ค่า PM 2.5 ที่สูงขึ้น

การนำรถ bus ไฟฟ้ามาใช้ในระบบขนส่งมวลชนถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องใหม่มากนัก หลาย ๆ ประเทศเริ่มให้ความสำคัญของการนำรถ bus ไฟฟ้า เข้ามาใช้โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในประเทศจีน

เซินเจิ้น ถือเป็นเมืองแรกของโลกที่รถ bus สาธารณะจำนวน 16,000 คันของเมืองถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด และในอนาคตอันใกล้นี้รถ taxi ทั้งหมดของเมืองอีกกว่า 22,000 คันก็จะถูกปรับมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเช่นกัน

หากถามถึงปัจจัยที่ เซินเจิ้น และ ประเทศจีนในภาพรวมสามารถเข้ามาเป็นผู้น้ำในด้านรถไฟฟ้าแล้วนั้น หนึ่งในสิ่งที่เกิดขึ้นคือการอุดหนุนจากรัฐบาล ที่มากกว่า50% ของรัฐบาล

สำหรับราคารถ bus ไฟฟ้าหนึ่งคันของเมือง เซินเจิ้น นั้นหากไม่หักการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้วนั้นจะอยู่ที่ 1.8 ล้านหยวน แต่ถ้าหากนำการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้วนั้น ราคารถไฟฟ้าหนึ่งคันจะอยู่ที่เพียง 900,000 หยวน

นอกเนื่องจากนั้นแล้วหากผู้ประกอบการรถ bus สาธารณะ สามารถวิ่งให้บริการ มากกว่า 60,000 กิโลเมตรแล้วนั้น รัฐบาลจะมีเงินให้เพิ่มอีก 500,000 หยวน ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ส่งเสริม เรื่องของ social welfare ของประเทศจีน

หนึ่งในอุปสรรคของการใช้งานจริงของรถ bus ไฟฟ้าหรือแม้แต่รถยนต์ไฟฟ้าคือจุด Charge กระแสไฟฟ้า ซึ่งเพื่อเป็นการแก้ปัญหาจุดนี้ทางเมือง เซินเจิ้น ได้ลงทุนติดตั้งจุด charge ไฟฟ้า มากถึง 40,000 จุด

ซึ่งในปี 2020 จะเป็นปีสุดท้ายที่ รัฐบาลจีนจะให้การสนับสนุนในด้านของราคารถ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในโครงการหรือระบบ infrastructure ขนาดใหญ่แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศจีนเองหรือในต่างประเทศ นอกเนื่องจากนี้ ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ สภาพอากาศในการพื้นที่ให้บริการ หรือ แม้แต่สภาพ ถนน ของประเทศนั้น ๆ

ในประเทศไทยแล้วนั้นมีหลายบริษัทที่เริ่มนำรถไฟฟ้าเข้ามาจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น Volvo, BYD หรือ แม้แต่บริษัท EVTHAI ที่ให้บริการแล้วรวมกับ จุฬา

จากข้อมูลของ ขสมก เมื่อปี 2559 เกี่ยวกับรถ bus ไฟฟ้านั้นพบว่าต้นทุนทางเชื้อเพลิงของรถ bus ไฟฟ้านั้นมีต้นทุนอยู่ที่ 3.47 บาท ต่อ กิโลเมตร และ รถ bus ดีเซลมีต้นทุนเชื่อเพลิงของรถอยู่ที่ 10.58 บาท ต่อ กิโลเมตร

แต่ต้นทุนอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่คำถามทั้งหมดของการลงทุนเนื่องจากอีกปัจจัยที่สำคัญของการให้บริการรถ bus ไฟฟ้านั้นคือต้นทุน ของระบบ battery ที่ปัจจุบันแม้แต่บริษัทระดับโลกอย่าง BYD เองนั้นมีการการันตี อายุการ charge ที่ 7,000 ครั้งการ charge เท่านั้น หรือประมาณ 12 ปี

จากการ study ของบริษัท BYD เองนั้นเปรียบเทียบกันระหว่างการ operate รถ bus 3 ระบบคือ ไฟฟ้า, CNG และ Diesel

จากรูปจะเห็นได้ว่า initial cost ของการลงทุนของรถไฟฟ้าจะมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง แต่ หากมองที่การ operate ในช่วงระยะ 12  ปี ที่ 72,420.48 กิโลเมตรต่อปีแล้วนั้น พบว่าต้นทุนการให้บริการ ทั้งหมดจะต่ำที่สุดของการให้บริการ

ดังนั้นหากประเทศไทยในอนาคตจะลงทุนและส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้าอย่างจริง ๆ จัง ๆ แล้วนั้นการสนับสนุนการใช้งาน ไม่ ว่าจะเป็นทางด้านภาษีการนำเข้า ( เพื่อส่งเสริมการใช้งาน) และ การรวมลงทุน และ ส่งเสริมการลงทุนในจุด charge ไฟฟ้าต่าง ๆ ให้มีหลากหลาย

ก็ต้องติดตามกันต่อกับนโยบายรถยนต์ไฟฟ้า ของระเทศไทยว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจริงจังกับนโยบายกันแค่ไหน เนื่องจากการออกแบบ Infrastructure เหล่านี้ล้วนใช้ระยะทั้งสิ้น

อ้างอิง

https://www.posttoday.com/economy/452065
https://www.theguardian.com/cities/2018/dec/12/silence-shenzhen-world-first-electric-bus-fleet
http://www.pagregion.com/documents/committees/cleancities/2016/CleanCities-2016-03-16-Presentation-BYD.pdf