หากเอ๋ยถึงธุรกิจที่เป็นมหาชนได้แล้วนั้นโดยปรกติส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือ ธุรกิจที่คนจำนวนมากรู้จักแต่วันนี้ผมขอพาไปรู้จักกับธุรกิจที่หากเอ๋ยไปก็คงไม่เชื่อว่าจะเป็นมหาชน เนื่องจากการเข้ามาคู่แข่ง หรือ การหาบุคคลที่มีศักยภาพมาร่วมงาน
ธุรกิจที่ผมพูดถึงวันนี้ คือ บริษัท แอลดีซี เด็นทัล จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการธุรกิจ clinic ทำฟันที่มีสาขา มากถึง 31 สาขาและมีหมอในสังกัดถึง 400 คน
โดยสาขาทั้งหมด 31 สาขานั้นหากแบ่งตาม location ของสาขาแล้วนั้น 20 สาขาของบริษัทตั้งอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ ปริมณทล ส่วนอีก 11 สาขานั้นกระจายอยู่ตามหัวเมืองต่างจังหวัด
จุดเริ่มต้นของ LDC เริ่มต้นจากการเป็น clinic บน ถนนลาดพร้าว ในปี 2535 และ ขยายมาเป็นศูนย์ทันตกรรม ในปี 2543 ก่อนจะเข้ามาจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในปี 2557 ในตลาด MAI
บริการของ LDC นั้นเริ่มต้นตั้งแต่ การ อุดฟัน ขูดหินปูน X-ray ฟัน ทำราฟันเทียม และ ฟันสำหรับเด็ก
โดยสัดส่วยรายได้ของ LDC นั้นมาเป็นดังนี้
โดยหากเจาะลงไปในด้านการรักษาทางการแพทย์แล้วนั้น สัดส่วนรายได้จะเป็น
- การจัดฟัน 25.45%
- การรักษาประเภทใส่ฟัน 18.21%
- การรักษาประเภทรากเทียม 4.47%
- อื่นๆ 51.87%
โดยปัจจุบัน ณ สิ้น ปี 2560 บริษัท LDC มีจำนวนห้องทันตกรรม ทั้งสิ้น 214 ห้องแต่เป็นให้บริการทั้งสิ้นเพียง 130 ห้อง ซึ่งหาก คิดเป็น utilisation rate แล้วนั้น จะอยู่ที่ 60.7%
ในด้านบุคคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะด้านฟันนั้นถือเป็นตลาดที่แรงงานไม่สามารถหาได้ทั่วไปและขาดแคลนในตลาดทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้บริษัทป้องกันความเสี่ยงตรงนี้ด้วยการเปิด สถาบันฝีกอบรม LDC เพื่อสร้างบุคคลากรมาสนับสนุนธุรกิจของทางบริษัท โดยปัจจุบันสถาบันแห่งนี้ผลิต บุคคลากรไปแล้วทั้งสิ้น 432 คน
โดนปัจจุบันบริษัท LDC มีสมาชิกถึง 62,000 ราย และมีบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับทาง network ของบริษัท 57 องค์กร
การแข่งขันอุตสหกรรม ถือว่ามีผู้เล่นค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ เอกชน clinic ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่การเข้ามาแข่งขันค่อนข้างสูง และ การเข้ามาของธุรกิจค่อนข้างง่ายและไม่ได้อย่างเนื่องจากการเปิด clinnic สามารถทำได้โดยแพทย์เพียงไม่กี่คน
ภาวะอุตสาหกรรมนั้นในด้านของ supply แล้วนั้นปัจจุบันถือว่ายังขาดแคลนเนื่องจากบุคคลากรมีไม่เพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่บุคลากรจะกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เมือง ในด้านของ demand แล้วนั้นปัจจุบัน จากข้อมูลพี่ 2555 กลุ่มวัยทำงานเข้าพบทันตแพทย์ เฉลี่ย 1.7 ครั้งต่อปี ในขณะที่ กลุ่มผู้สูงอายุนั้นมีการเข้าผมทันตแพทย์เฉลี่ยน 2.0 ครั้งต่อปี นอกเนื่องจาก demand ในประเทศแล้วนั้นการทำฟันในประเทศไทยถือได้ว่ามีมาตฐาน และ ราคาค่อนข้างถูกกว่าในหลายๆประเทศใน ASEAN ทำให้มีลูกค้าจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาใช้บริการเช่นกัน
หากมองที่อุตสาหกรรมตัวนี้แล้วนั้น ตัวเลขที่น่าจะเป็นตัวเลขสำคัญสำหรับทิศทางการโตของบริษัทคงนี้ไม่พ้น
- ความถี่ในการเข้ามาของลูกค้า
- Average spending ต่อ คนไข้ ใน 1 ปี
- Utilisation ของจำนวนเตียง
- จำนวน membership
ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ถ้ามีโอกาศทางผมจำพยายามขอและนำมาแชร์ให้ในครั้งต่อๆไป