Wed. May 21st, 2025

Singapore Airline ใหญ่แค่ไหน?

หลาย ต่อ หลายครั้งเวลามีการพูดถึงสายการบินโดยเฉพาะสายการบิน ไทย หรือ Thai airways แล้วนั้น 1 ในสายการบินที่ถูกยกมาเทียบเสมอคือ สายการสิงคโปร์ แอร์ไลน์ ซึ่งถือเป็นสายการบินไม้เบือไม้เมากับ การบินไทยมาตลอด

สายการบิน Singapore Airline นั้น จริง ๆ แล้วไม่ได้มีแค่ สายการบิน Singapore Airline แต่ประกอบไปด้วย 3 สายการบิน ที่เป็นบริษัทลูกซึ่งประกอบด้วย

Singapore Airline: สายการบินนี้ถูก positioning ให้เป็นสายการบิน Long Hual หรือ Flight ที่มีชั่วโมงบินยาว และ ให้บริการแบบ Full Service ที่ถือเป็น Signature ของสายการบินเลยก็ว่าได้

เครื่องบิน: 107 ลำ

เส้นทางบิน: 62 เส้นทาง

ประเทศ: 32 ประเทศ

ผู้โดยสาร: 19.5 ล้านคน

Silk Air: สายการบินที่ถูก Positioning มาให้บริการเป็น Full Service แต่ Focus การให้บริการแค่ในระดับ Regional เท่านั้น ซึ่งคู่แข่งของสายการบิน Silk Air แล้วนั้นถ้าจะเป็นมวยที่เหมาะสมกันที่สุด คือ สายการบิน Bangkok Airway

เครื่องบิน: 32 ลำ

เส้นทางบิน: 52 เส้นทาง

ประเทศ: 15 ประเทศ

ผู้โดยสาร: 4.6 ล้านคน

Scoot: สายการบินน้องเล็กสุดในกลุ่มที่ถูก Positioning ในเรื่องของ Low cost และให้บริการครอบคลุมในเส้นทางยอดนิยมที่ระยะการบิน สั้น ถึง ปานกลาง ซึ่งสายการบินนี้ น่าจะคุ้นหูสำหรับใครหลาย ๆ คน เนื่องจากบริษัทมีการรวมทุนในประเทศไทยภายใต้ชื่อว่า Nok Scoot ซึ่งคู่แข่งที่สำคัญของ Scoot แล้วนั้นคงหนีไม่พ้น AirAsia

เครื่องบิน: 40 ลำ

เส้นทางบิน: 64 เส้นทาง

ประเทศ: 17 ประเทศ

ผู้โดยสาร: 9.5 ล้านคน

ซึ่งนอกจากธุรกิจ  main หลักในเรื่องสายการบินแล้วนั้น SIA ยังมีบริษัทลูกที่น่าสนใจคือ

SIA Engineering Company: บริษัทที่ลำซ่อมและดูแลเครื่องบินสำหรับบริษัทใน Fleet ทั้งหมดซึ่งปัจจุบันให้บริการมากกว่า 90 สายการบิน ใน 39 สนามบิน 8 ประเทศ

Singapore Airline Cargo: สายการบินให้บริการส่งสินค้าที่เป็นธุรกิจต่อยอดของสายการบินซึ่งให้บริการด้วยเครื่องบิน 747-400 จำนวน 7 ลำและ SIA Cargo ยังเป็นผู้บริหารพื้นที่ Cargo ของสายการบินในเครือทั้งหมด

ซึ่งหากแบ่งจามสัดส่วนรายได้แล้วนั้นสามารถแบ่งได้ตามนี้

Singapore Airline: รายได้ 10,544 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ คิดเป็นรายได้ 66.7%

SIA Cargo: รายได้ 2,216 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ คิดเป็นรายได้ 14%

Scoot: รายได้ 1,533.8 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ คิดเป็นรายได้ 9.7%

Silk Air: รายได้ 998.9 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ คิดเป็นรายได้ 6.3%

SIA Engineering: รายได้ 480.9 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ คิดเป็นรายได้ 3%

Other: รายได้ 31.9 ล้านเหรียญ สิงคโปร์ คิดเป็นรายได้ 0.3%

นอกเนื่องจากนี้ Singapore Airline  กำลังอยู่ในช่วงทำความร่วมมือ ที่น่าสนใจคือ

Duty free: บริษัทมีแผนจะขยายธุรกิจ Duty free รวมกับ DFASS และ SATS ซึ่งจะให้บริการสั่งซื้อสินค้าบนเครื่องบิน และ รับสินค้าที่บริเวณ counter สนามบิน

Training Center: บริษัทมีแผนการที่จะรวมลงทุนในการทำ pilot training center ซึ่งให้บริการ simulator สำหรับเครื่องบินใน fleet Boeing สำหรับสายการบินในเครือและสายการบินนอกเครือ

ก็น่าสนใจไม่น้อยกับสายการบิน Singapore Airline ที่ก่อตั้งธุรกิจมาหลังการบินไทยถึง 12 ปี  แต่ธุรกิจกลับมีกำไรและรายได้ดังนี้

2016: รายได้ 15,239 million SGD กำไร 804 million SGD

2017: รายได้ 14,869 million SGD กำไร 360 million SGD

2018: รายได้ 15,806 million SGD กำไร 893 million SGD

ในทางกลับกันการบินไทยกลับมีรายได้

2016: รายได้ 178,312 ล้านบาท กำไร 15.14 ล้านบาท

2017: รายได้ 189,856 ล้านบาท ขาดทุน 2,107 ล้านบาท

2018: รายได้ 195,965 ล้านบาท ขาดทุน 11,625 ล้านบาท

ก็ต้องตามกันต่อกับการพลิกธุรกิจของการบินไทยซึ่งมีแผนที่จะปรับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้มีผลลัพธ์ ออกมาชัดเจนเท่าไร

อ้างอิง https://www.singaporeair.com/saar5/pdf/Investor-Relations/Annual-Report/annualreport1718.pdf