Sat. Apr 5th, 2025

ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีความแปรผันของรายได้ค่อนข้างสูงตามราคาน้ำมันในตลาดโรงซึ่งในประเทศไทยเองนั้นก็มีโรงกลั่นน้ำมันอยู่หลายๆเจ้าตามผู้ผลิตน้ำมัน หนึ่งในโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ของประเทศไทยคงหนีไม่พ้น SPRC ซึ่งเป็นการรวมลงทุนระหว่าง Chevron และ PTT

สำหรับตัวเลขของ  Q3 ตัวเลขที่น่าสนใจก็จะมี

  1. availability ของโรงกลั่นอยู่ที่ 97.2% และมี utilisation อยู่ที่ 88.0% ซึ่งมีสัดส่วนที่หายไปอยู่ที่ 9.2%
  2. ค่า Margin ของการกลั่นน้ำมันอยู่ที่ $5.05 per bbl และมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ $2.15 per bbl
  3. ซึ่ง demand การใช้น้ำมันในส่วนของ asia จะมีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น1.4 ล้าน bbl ต่อวัน ในปี 2019 และใน asia จำมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 1 – 1.2 ล้าน bbl ต่อวัน
  4. ซึ่งในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันแล้วนั้น สัดส่วนราคาส่วนต่างของน้ำมันดิบ กับน้ำมันหลังจากการกลั่นแล้วนั้น ใน Q3 2018 จะเป็นไปดังนี้
    1. เบนซิน + $11.5 ต่อ bbl จาก น้ำมันดิบ
    2. Diesel +$14.4 ต่อ bbl จากนั้มันดิบ
    3. น้ำมันเครื่องบิน +14.5 ต่อ bbl จากราคาน้ำมันดิบ
    4. น้ำมันเต้า -$2.5 ต่อ bbl จากราคาน้ำมันดิบ
  5. ซึ่งใน Q3 นี้น้ำมันดิบที่  SPRC นำเข้ามาส่วนใหญ่ยังเป็นน้ำมันดิบจากโซนตะวันออกกลางเป็นหลัก ซึ่งมีความคุ้มทุนในการกลั่น และ ใน Q3 /2018 นี้  SPRC ใช้น้ำมันดิบไปทั้งสิ้น 21 ชนิด * ( ส่วนตัวตรงนี้ผมมองว่าหากใช้น้ำมันดิบน้อยชนิดจะทำให้การผลิตมีความต่อเนื่อง เนื่องจากไม่ต้องมีการ  swiching ระบบน้ำมันดิบ)
  6. น้ำมันดิบที่ SPRC กลั่นได้ส่วนใหญ่นั้นเป็นน้ำมันที่มีสัดส่วนสอดคล้องกับความต้องการในประเทศ โดยหลักๆ จะเป็น น้ำมันเบนซิน ที่ 21% น้ำมันดีเซล 35% ยางมะตอย 10% และ น้ำมันเครื่องบินที่ 7%
  7. ซึ่ง SPRC นั้นมีน้ำมันที่กลั่นได้มากถึง 84% เป็นขายในประเทศ เมื่อเทียบกับในอุคสหกรรมที่มีสัดส่วนการขายในประเทศที่ประมาณ 78%
  8. ในส่วนของค่า OPEX หรือ cost การกลั่นน้ำมันนั้นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นค่อยข้างสูงคือจาก $1.86 ต่อ bbl ไปเป็น $2.15 ต่อ bbl ซึ่งส่วนสำคัญที่เพิ่มขึ้นค่า fix cost ที่เพิ่มขึ้นจาก $1.21 ต่อ bbl มาเป็น $1.43 ต่อ bbl ซึ่งสาเหตุมาจากการที่ ใน Q3 2018 มีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นถึง 15 วัน
  9. กำลังการกลั่น Crude oil ของ SPRC นั้นปัจจุบันอยู่ ที่ 165,000 bbl per day.

ซึ่งหากนำข้อมูลข้างต้นมาวิเคระาห์แล้วนั้น คงหนีไม่พ้นตัวแปลสำคัญ

  1. ราคาน้ำมันในตลาดโลก ( ธุรกิจโลกกลั่นชอบน้ำมันค่าขึ้นเพราะสามารถทำกำไรจาก stock น้ำมันได้ )
  2. BLIP หรือ กำไรบรรทัดสุดท้ายต่อ bbl ของบริษัท ซึ่งบริษัท เคยทำได้ถึง $3.15 ต่อ BBL น่าติดตามว่า Q3 จะสามารถ pick up หรือ recover ตัวเลขได้มาถึงยอดนี้ไหม
  3. Utilisation and availability ของโรงงานซึ่งก็แน่นอนเป็นตัวเลขที่สำคัญกับทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
  4. OPEX หรือ cost การกลั่นต่อ bbl ซึ่งหาก บริษัทสามารถทำ utilisation ของทั้งโรงงานได้สูงแน่นอน part ของ fix cost ต่ำไปอีก ซึ่ง contribute โดยตรงต่อ  BLIP ของบริษัท

ซึ่งตัวเลขทั้งหมดข้างต้นล้วนเป็นตัวเลขที่บริษัทสามารถควบคุมด้วยและเคยทำได้มาก่อนซึ่งปีหน้านั้น ทาง SPRC  เองก็มีแผ่นกำลังการผลิตเพิ่มอีก 10,000 bbl ต่อวันจะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มเป็น 175,000bbl ต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 6%

ราคา SPRC ณ วันที่  6 november 2018 อยู่ที่ 13.40 บาท ซึ่งปัจจุบัน มี P/E อยู่ที่ 6.67 เท่า ซึ่งหากกำลังการผลิตของบริษัทเพิ่มขึ้น 6% จำทำให้ P/E ลดลงมาอยู่ที่ 6.28 เท่า ในปีหน้า

หากมอง Year to Date แล้ว 9M 2018 เทียบ กับ 9M2017 นั้น รายได้ของบริษัทมีรายได้ค่อนข้างเท่ากันถึงแม้ปริมาณน้ำมันเข้ากลั่นเฉลี่ยสูงขึ้น 7.6% ซึ่งหากค่าการตลาดกลับมาเพิ่มขึ้นและ ค่า OPEX ต่ำลงได้อีกเชื่อได้ว่า Overall performance ของปีนี้จะดีขึ้นและ  ทำให้รายได้ของบริษัท over all เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน

ซึ่งในอุตสหกรรม โรงกลั่นแล้วนั้น P/E ของอุตสหกกรมนั้นจะอยู่ที่ 12.97 เท่า

 

  • บริษัท SPRC มีแผ่นปิดซ่อมบำรุงใหญ่อีกครั้งในปี november 209  ซึ่งคาดว่าจะทำให้กำลังการผลิตของบริษัทหายไป 38 วัน หากอิงตามการปิดรอบก่อน ซึ่งหากคำนวนด้วย rate ความเสียหายเดียวกันนั้น คาดว่าบริษัทจะเสียรายได้(กำไร)ไปประมาณ 50-52 ล้านเหรียญ ซึ่งการปิดรอบนี้จะรวมถึงการเพิ่ม capacity อีก 10,000 bbl ต่อวันด้วย

 

หากเป็นการวิเคราะห์ส่วนตัวแล้วนั้นสามารถที่จะเริ่มเก็บหุ้นตัวนี้และขายหรือรอฟังประกาศผลประกอบการ Q4 ได้เนื่องจาก P/E ที่ต่ำและประสิทธ์ภาพในการผลิตที่เริ่มสูงขึ้น