Tue. May 20th, 2025

อาจจะมีหนึ่งเรื่องที่หลายๆ คนในประเทศไทยอาจจะยังไม่รับทราบคือ จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดแรก ๆ ของประเทศไทยที่ได้รับการจัดสรร วัคซีนมาเพื่อฉีดประชาชนในวงกว้างเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดประเทศไทย หรือ Phuket Sand Box ภาคการท่องเที่ยว

ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าผม ไม่ได้เป็นคนที่เข้าไปอยู้ในระดับวางแผน หรือ ขั้นตอนต่างๆ ของการทำการฉีดวัคซีนครั้งนี้เลย

บทความนี้เลยขอเขียนในมุมมองจากการสังเกตและได้มีโอกาสได้เข้าไปในช่วยงานศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด ได้มีโอกาส เข้าร่วมประชุมกับพี่ๆในบ้างครั้งดังนั้นอาจจะมีบ้างมุมมอง หรือ บ้างมิติที่อาจจะตกหล่นไป

ดังนั้นเรามาเริ่มต้นที่บทเรียนแต่ละอย่างกันเลย

  1. ระบบลงทะเบียน

ระบบลงทะเบียนสำหรับคนที่ต้องการฉีดวัคซีน ถือเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมากๆ เรื่องหนึ่งเนื่องจากทีมฉีดจำเป็นต้องมีสิทธิ์ในการจัดการและเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้เพื่อจัดลำดับความสำคัญของการเข้าฉีด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ข้อมูลทุกอย่าง จะต้องถูกเปิดให้กับ หน่วยงาน หรือ ทีมที่ดูแลเรื่องนี้เลยโดยตรง โดย key success ของระบบนี้ จะแบ่งออกไปด้วยกัน 2 กลุ่มหลักๆ คือ ส่วนคนที่เข้าถึง internet ได้ กับส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล internet ได้

กลุ่ม 1 โดยในส่วนของคนที่เข้าถึงระบบ internet ได้จะต้องประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลประชาชนเบื่องต้น เช่น เลขบัตรประชาชน ที่อยู่จริง สถานที่ทำงานจริง
  • ช่องทางการติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์
  • ส่วนสำหรับจัดลำดับความสำคัญ เช่น อาชีพ โรคประจำตัว

กลุ่ม 2 โดยในส่วนของคนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบ internet ได้จะต้องประกอบไปด้วย

  • จะต้องไปแจ้งความจำนงกับใคร เช่น ผู้ใหญ่บ้าน อบต หรือ อนามัยในพื้นที่
  • เอกสารที่ต้องใช้ในการกรอกข้อมูล ( ตามกลุ่ม 1)

ซึ่งจะต้องมีทีมที่นำข้อมูลของกลุ่ม 2 มากรอกเพื่อที่ให้ข้อมูลอยู่ในระบบเหมือน กลุ่ม 1

2. กระบวนการจัด Q

การจัด Q ถือเป็นเรื่องใหญ่มากเนื่องจากถือเป็นเรื่องที่หากไม่มีหลักเกณฑ์ หรือ ระเบียบปฏิบัติชัดเจนแล้วนั้นจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและความงุนงง ในการจัดการซึ่งถือเป็นเรื่องที่จะการทำงานจะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ

สำหรับภูเก็ต เราแบ่งการจัด Q เป็น

  • บุคคลอาชีพเสี่ยง : ข้าราชการ หมอ แพทย์ พยาบาล
  • บุคคลที่มีโรคกลุ่มเสี่ยง : โรคประจำตัว ที่ต้องได้รับการฉีดก่อน
  • บุคคลทำงานที่เสี่ยง : พนักงานโรงแรม สถานบริการ
  • บุคคลที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยง : พื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
  • บุคคลทั่วไป

ซึ่งหากมีหลักในการจัด Q ที่ชัดเจนแล้วนั้นจะทำให้การทำงานของทุกฝ่ายสามารถทำงานได้ดีขึ้น

3. ระบบการแจ้ง Q และ การเช็คชื่อตัวเอง

ซึ่งหนึ่งที่ได้รับ feedback จากากร run ระบบ “ภูเก็ตต้องชนะ” คือช่วงแรกของการ run ระบบไปนั้นพบว่า ไม่มีสถานที่หรือช่องทางที่ ประชาชนที่มาลงทะเบียนสามารถจะเช็คชื่อได้ด้วยตนเอง ได้ลงทะเบียนไหวแล้วหรือยัง ซึ่งทางทีม ภูเก็ตต้องชนะ ก็มีการปรับตัวค่อนข้างเร็ว คือ

  • ให้เช็คตัวเลขได้ว่ามีข้อมูลในระบบหรือยัง และได้รับการจัด Q แล้วหรือยัง
  • มี SMS ไปแจ้งเมื่อมีการรับ Q แล้ว

ซึ่งทั้งสองทางได้ช่วยลดปริมาณคำถามจากภาคประชาชนไปพอสมควร ( แต่ก็จะมี error อยู่บ้างเช่นชื่อไม่ตรงกัน หรือ จะเลื่อนวันนัด)

4. สถานที่ฉีด

เรื่องที่ถือเป็นเรื่องใหญ่เนื่องจากสถานที่และปริมาณการเข้ามาฉีดของประชาชนนั้นค่อนข้างจะมากและมหาศาล ดังนั้นทางภูเก็ตเองมีการขั้นเลือกสถานที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สถานที่จอดรถ
  • การเคลื่อนย้ายของอุปกรณ์
  • ความแออัดของพื้นที่
  • การกระทบต่อการใช้พื้นที่ในยามปกติ

ซึ่งเมื่อเอาหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้วนั้นทำให้สถานที่ฉีดของภูเก็ตจะมีด้วยกันแบบ หลายที่ได้แก่

  • สนามกีฬา stadium
  • ห้องประชุมของโรงแรม ที่ปัจจุบันปิดให้บริการ
  • ห้างสรพพสินค้า ที่ปัจจุบันปิดให้บริการ

5. อาสาสมัครและทีมงาน

อาสาสมัคร และ ทีมงานในการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ แล้วนั้นถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้การฉีดทุกครั้งผ่านไปได้ด้วยดี ผม เลยลองทำ Forecast และ Flow ของการไหลของเคสจริงได้ดังต่อไปนี้

จาก Flow เบื้องต้นจะเห็นได้ว่าต้องใช้พนักงานและทีมงานทั้งสิ้นประมาณ 99 คนเพื่อที่จะสามารถทำอัตราฉีด 200 คนต่อชั่วโมง และในความเป็นจริงแล้วนั้น อาจจะต้องใช้พนักงานและทีมงาน สำรองอีกหนึ่งเท่าตัว

โดยจากหลักเกณฑ์นี้แล้วนั้น จะต้องใช้พนักงานและทีมงาน เกือบ 200 คน เพื่อจะทำการฉีด วันละ 12 ชั่วโมง เพื่อที่จะฉีดให้ได้วันล่ะ 2,400 คน

ซึ่งหากใช้หลักเกรณ์นี้แล้วนั้นจะต้องนำกลับไปคำนวณถึงขนาดและพื้นที่ในการจัดการฉีดวัคซีน

บทเรียนการฉีดวัคซีนภูเก็ตถือว่าน่าจะเป็นบทเรียนที่น่าสนใจสำหรับหน่วยงานและองค์กรภาครัฐเอกชน ที่จำเป็นต้องวางแผนการฉีดวัคศซีนในอนาคต ด้วยตัวเลขจำนวนคนที่ต้องฉีดวัคซีนแล้วนั้นเชื่อได้เลยว่า การวางแผนการฉีดวัคซีนน่าจะเป็นเรื่องที่จะอยู่กับเราไปอีกนาน