Fri. May 17th, 2024

หัวข้อการเสวนาของคนภูเก็ตช่วงนี้คงหนีไม่พ้นการที่ รฟม. ส่งคนมาเพื่อจัดทำข้อมูลและฟังความต้องการของประชาชน หรือ ผู้ที่อยู่อาศัยในภูเก็ตเกี่ยวกับราคาค่าบริการและเส้นทางรถไฟฟ้า (ที่อาจเป็นล้อยาง) เส้นสนามบิน ห้าแยกฉลอง ที่อาจจะมีการขยับจุดเริ่มต้นของเส้นทางไปถึง ท่าฉัตรชัยเพื่อรองรับการจัด Specialised Expos

จนทำให้ผมเกิดอย่างจะตั้งคำถามขึ้นมาเล่น ๆ ชวนทุกคนช่วยกันตอบ เพื่อจะเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องจากอีกมุมมองหนึ่งที่ไม่อยากเห็นการเอาเงินไปละลายแม่น้ำเล่นไม่ว่าจะทั้งในรูปแบบของการสร้างแล้วไม่มีคนใช้ หรือ จ้างศึกษาครั้งละเป็นหลัก 10 ล้าน 100 ล้าน

คำถามแรกที่อยากชวนทุกคนตอบไป พร้อม ๆ กัน คือ เราต้องให้โครงการรถไฟรางเบาเกิดขึ้นเพราะอะไร ?

โจทย์นี้น่าจะเป็นโจทย์ แรก ๆ ที่เราทุกคนอาจจะต้องช่วยกันตอบ

1. แก้ปัญหารถติด

2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว

3. พัฒนนาพื้นที่รอบสถานี

ถ้าคำตอบของคุณคือ ข้อ 1 ที่เราต้องการรถไฟรางเบาที่ต้องการแก้ปัญหารถติด นั้นผมก็อาจจะต้องโยนคำถามกลับอีกรอบว่าทางเลือกอื่นที่เรามีที่จะรถปัญหารถติดมีอะไรบ้าง

รถโดยสารประจำทาง

หลายคนอาจย้อนกลับมาว่าก็รถโดยสารประจำทางก็ต้องใช้ถนนกับรถทั่วไป แต่ทำไหมเราไม่คิด ว่าก็ในเมืองเรากำลังสร้างเกาะกลางถนนให้รถไฟรางเบา วิ่งได้ ทำไหมเราไม่เอาแค่รถโดยสารประจำทางไปวิ่งบนนั้นได้เหมือนกันละ เฉกเช่นเดียวกับรถบบขนส่ง BRT กรุงเทพ ที่มีการกำหนดเวลาโดยสารที่ชัดเจนได้ ไม่ทำให้รถติด (จริงเปล่าไม่รู้เพราะก็ไปกันเลนรถยนต์ออกมาให้กับ BRT แต่อย่างน้อยก็ทำให้คนหันมาใช้คนส่งมวลชน )

ถ้าคำตอบของคุณคือข้อ 2 ที่เราต้องการรถไฟรางเบาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและค่าใช้จ่าย

คำถามที่ขอถามกลับว่าในแนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ มีแหล่งท่องเที่ยวกี่แห่ง และตัวคุณเองจะเลือกเดินทางด้วยรถไฟรางเบาไปสถานที่เหล่านั้นหรือไม่ และ จากสาเหตุที่มันไม่มีการแหล่งท่องเที่ยวใด ๆ เลยสุดท้ายผดส ก็ยังคงต้องใช้บริการ Last mile transport taxi เช่น รถโพ้ถ้อง รถบัส หรือ แม้แต่ Taxi เช่นเดิมซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการส่งเสริมท่องเที่ยวและลดค่าใช้จ่าย

ถ้าคำตอบของคุณคือข้อ 3 ที่เราต้องการรถไฟฟ้ารางเบา เพราะมันมีสถานี ทำให้เราสามารถพัตนารถสถานีรอบแนวรถไฟรางเบาได้

ก็ต้องถามกลับว่าแล้วโครงสร้างสถานีแบบรถ BRT กทม มันทำไม่ได้ตรงไหน เพราะสุดท้ายมันก็มีสถานีและการพัฒตนารอบพื้นที่เช่นเดียวกัน

ที่ออกมา Post อย่างนี้ไม่ได้บอกหรือห้ามการมีระบบรถไฟรางเบาในภูเก็ต แต่เราลองถอยกลับมากันสักนิดไหมว่าเราต้องการอะไรจริง ๆ กันแน่

เรารองมาดูสิ่งที่เรามีกันก่อนไหม เช่น เส้นทางรถประจำทางในภูเก็ตเรามีมากถึง 16 เส้นทาง มากซะจนวันนี้ถ้าคุณเดินเข้าไปขนส่งเพื่อจะขอเส้นทางวิ่งใหม่ ไม่มีทางที่จะไม่ทับเส้นเดิม ๆ ของคนวิ่งอยู่แล้วเลย และ ตระกะอันแสนแปลกก็คือ ห้ามวิ่งทับกันเพราะจะแย่งลูกค้าถึงแม้จะแค่เพียงเล็กน้อย

เราลองมายกเครื่องเส้นทางทั้ง 16 เส้นทางกันไหมและปรับเส้นทางเพิ่มตามเส้นทางรถไฟฟ้าวิ่งก็ยังได้

โพถ้อง หรือ สองแถว ยังจำเป็นที่จะต้องเป็นในรูปแบบปัจจุบันหรือไม่

ในมุมมองหนึ่งก็ยังจำเป็นในมุมมองของการอนุรักษณ์วัฒนธรรมของจังหวัด

แต่อีกมุมมองคือเรื่องของมาตฐานการให้บริการ และ การเป็น Universal Standard ที่เราไปเมืองไหนๆ เราก็อยากได้ขนส่งมวลชนที่เรานั่งโดยสารกันได้แบบแอร์เย็น ๆ แบะนุ่มๆ กันหมด เราอาจจะขาย experience ได้ครั้งสองครั้ง แต่หลังจากนั้นคือเรืองของความสบายในการเดินทาง

เช่นเดียวกัน ขนส่งมวลชนอีกประเภทที่เราไม่กล้าเข้าไปยุ่งกันคือ

รถ Taxi ที่ถ้าหากไปดูเงื่อนไขกันอย่างจริงจัง Taxi ที่ทำไหมเรายังไม่สามารถยกเลิกเรื่องระบบเขต หรือ ระบบพื้นที่กันได้ ป้ายเขียว ป้ายดำ วิ่งรับผู้โดยสารกันอย่างอิสระ ทั้ง ๆ ที่รถสาธาณะประเภทนี้ควรระบบ Meter เช่นจังหวัดอื่น

ก็อยากจะโยนโจทย์นี้และชวนทุกมารวมแสดงความคิดเห็นกันว่า จริง ๆ แล้วเราต้องการรถไฟรางเบา หรือ เราแค่ต้องการระบบขนส่งมวลชนดีดี เพราะ สองโจทย์นี้มันอาจจะเป็น Subset ซึ่งกันและกัน แต่ มันไม่สามารถตอบคำถามเดียวกันได้

ย้ำอีกครั้ง ความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กรหรือหน่วนงานใด

By prempcc